เด็กพิเศษ

เด็กพิเศษ

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 4


บันทึกครั้งที่ 4


เนื้อหา/กิจกรรม 

         เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

- เด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างน่ากลัว ควบคุมอารมณ์ให้ปกตินานๆไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ไม่สามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
   
          เด็กกลุ่มนี้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น เกิดเรื่่องที่กระทบต่อจิตใจของเด็ก
2. ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

การที่จะคิดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้

- สภาพแวดล้อม
- ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

- ไม่สามารถเรียนได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ เก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย

         เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก และกำลังได้รับความสนใจจากทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ได้แก่

                1. เด็กสมาธิสั้น   (Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD) 


ลักษณะอาการ


1. อาการสมาธิสั้น (Inattention)
                                1) มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ
                                2) มักวอกแวกง่าย ตามสิ่งเร้าภายนอก
                                3) ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
                                4) ทำตามคำสั่งไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
                                5) หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม
                                6) ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ
                                7) มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
                                8) ทำของหายบ่อยๆ
                                9) มักลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ
 2. อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
                                1) ยุกยิก ขยับตัวไปมา
                                2) นั่งไม่ติดที่ มักต้องลุกเดินไปมา
                                3) มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
                                4) ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้
                                5) เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา
                                6) พูดมากเกินไป
3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
                                1) มีความยากลำบากในการรอคอย
                                2) พูดโพล่งขึ้นมา ก่อนถามจบ
                                3) ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ในวงสนทนาหรือในการเล่น

สาเหตุ
                โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เช่นdopamine, norepinephrine, serotonin ฯลฯ

ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)


สาเหตุของปัญหาการเรียน

     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)

     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
     ขาดโอกาสทางการศึกษา
     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

 2. เด็กออทิสติก

            โรคออทิซึม (อังกฤษAutism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารและมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ   ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี


            ลักษณะของเด็กออทิสติก

อยู่ในโลกของตัวเอง โลกส่วนตัวสูง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
- ยึดติดวัตถุที่ชอบหรือรัก คนอื่นมาแย่งหรือแตะต้องไม่ได้ 
- ต่อต้าน แสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง ไร้เหตุผล
- มีท่าทีเหมือนคนหูหนวก
- ใช้วิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนทั่วไป


เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities)


          ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ

          โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้
           เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม








เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) หรือเด็กอัจฉริยะ 

          คือเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้นเนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 บางท่านระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี
  
กิจกรรม

- คุณครูให้ดูวิดีโอของทีวีครู เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ แล้วให้เขียนสรุปออกมาเป็นผังความคิดหรือ Mind Mapping ส่งท้ายชั่วโมงเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น